จากจุดเริ่มต้นของ “กีฬา” ที่ในอดีตเป็นเพียงกิจกรรม หรือการเล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน กระทั่งได้เดินทางพัฒนามาสู่การแข่งขันอย่างเป็นทางการโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ “ชัยชนะ” คือ สิ่งที่ทำให้เกิดการสร้าง “กฎ และกติกา” ขึ้นมาควบคุมอย่างเข้มงวด สำหรับป้องกันการ “ทุจริต” เพื่อให้ทุกเกมส์กีฬาการแข่งขันได้ดำเนินไปอย่างยุติกรรม
โดยประเทศไทยเองก็มี “กฎ และกติกา” ที่เข้มงวดภายใต้ “พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖” เพื่อเป็นกฎหมายสำหรับกีฬาอาชีพของประเทศไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมนานาประเทศ และกำหนดมาตรการคุ้มครอง ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา ทั้งนักกีฬาอาชีพ, บุคลากรกีฬาอาชีพ และผู้เกี่ยวข้องกับกีฬาอาชีพ ดูน้อยล
ซึ่งวัตถุประสงค์หลักข้างต้น ทำให้ “คำๆ หนึ่ง” ในหัวข้อย่อยจาก “มาตรา ๔” มีความน่าสนใจที่จะนำมาเล่าให้ฟัง โดยคำดังกล่าวก็คือ “การล้มกีฬา” ที่ความหมายคือ “การเข้าแข่งขันกีฬาอาชีพโดยแสร้งแพ้ หรือโดยกระทําการ หรือไม่กระทําการแข่งขันกีฬาอาชีพโดยมีเจตนาทุจริต และให้หมายรวมถึงการเข้าแข่งขันกีฬาอาชีพ โดยสมยอมกันเพื่อให้ผลการแข่งขันเป็นไปตามที่กําหนดไว้เป็นการล่วงหน้า”
และนั่นหมายความว่า “การล้มกีฬา” ถือเป็นความผิดในการกระทำทุจริต เป็นกระทำการอันเสื่อมเสีย ภายใต้ “พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖” และมีบทลงโทษที่หนักแน่น เด็ดขาด ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างวินัยให้นักกีฬาทุกประเภททำหน้าที่อยู่ในกรอบของ “กฎ และกติกา” ถ้าไม่อยากเสียทั้งอนาคต และชื่อเสียง
สำหรับบทกำหนดโทษ “การล้มกีฬา” ที่เราเราจะนำเสนอในส่วนถัดไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขั้นเริ่มต้นกับ “โทษทางปกครอง” และ ขั้นสูงสุดกับ “โทษทางอาญา” … ซึ่งบอกเลยว่าแต่ละขั้นของ “โทษ” นั้นแม้จะมีความหนักเบาต่างกัน แต่ท้ายที่สุดก็สามารถทำลายทั้งอนาคต และชื่อเสียงของนักกีฬาได้ง่ายๆ ในแบบที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว
อ้างอิง : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/118/1.PDF