สารต้องห้ามทางการกีฬา

WADA คืออะไรและมีหน้าที่อย่างไรบ้าง ?

WADA มีการบริหารจัดการในระดับภูมิภาค โดยกระจายอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก ตั้งเป็นองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามแห่งชาติ หรือมีชื่อย่อว่า NADO และในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา : Doping Control Agency of Thailand หรือ DCAT ขึ้น โดยอาศัยความในมาตราของพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาพ.ศ. 2555 โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้


1. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการและคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
2. ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบการใช้สารต้องห้ามตามข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด
3. ให้บริการทางวิชาการ ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ การประกันคุณภาพของกระบวนการควบคุมการใช้สารต้องห้าม การวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาและป้องกันการควบคุมการใช้สารต้องห้าม
4. ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการป้องกันการใช้สารต้องห้ามทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
5. จัดทำฐานข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่ควบคุมการใช้สารต้องห้าม ตลอดจนรวบรวมและปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารต้องห้ามให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
6. จัดให้มีโฆษณา และประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับสารต้องห้ามในการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อนักกีฬาและประชาชน
7. ประสานงานกับนักกีฬา สมาคมกีฬา และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการตรวจหาสารต้องห้ามทั้งในประเทศและต่างประเทศ
8. ประสานงานกับองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาระดับสากล
9. จัดรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเสนอต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละ   1 ครั้ง
10. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่รัฐมนตรี คณะกรรมการ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย


ทั้งหมดนี้ คือ ความร่วมมือกันของหน่วยงานและองค์กรภาคีต่าง ๆ ที่ทำงานอย่างมีมาตรฐานเป็นสากล และเชื่อมโยงกันทั่วโลก เพื่อสร้างความบริสุทธิ์ยุติธรรมให้วงการกีฬานั้นเอง

อ้างอิงข้อมูลจาก :   https://www.brighttv.co.th/news/sports/world-anti-doping-agency-1

ยาอะไรบ้างที่เป็นสารต้องห้ามทางกีฬา

สารต้องห้ามสำหรับนักกีฬา (Doping drugs) คือ ยาหรือสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพทั้งกระตุ้นและหรือเสพติด ซึ่งประกาศตามกฎของ International Olympic Committee (IOC), the United States Olympic Committee (USOC), หรือ the National Collegiate Athletic Association (NCAA) ขอใช้คำจำกัดความภาษาอังกฤษ เพื่อความถูกต้อง

” Doping is the administration of or the use by a competing athlete of any substances foreign to the body or of any physiological substance taken in abnormal quantity or by an abnormal route of entry into the body, with the intention of increasing in an artificial and unfair manner his performance in competition. When necessity demands medical treatment with any substance which because of its nature, dosage or application is able to boost the athlete’s performance in competition in an artifical and unfair manner, this is to be regarded as doping.” (Clarke K. Drugs and the coach. Washington,DC: American Alliance for Health, Physical Education and Recreation. 1972)

สารต้องห้ามสำหรับนักกีฬามีมากมายหลายชนิด ขอแบ่งตามหัวข้อที่ใช้บ่อยๆ รวมทั้งได้ค้นชื่อการค้าที่มีในประเทศไทยไว้ด้วย

  • ยาแก้หวัดคัดจมูก
    1. Pseudoephedrine ได้แก่ Actifed, Benadryl, Consimet, Maxiphed, Rhinohist, Robitussin-PE, Rocof, Sinusaid, Sudafed, Trifed ฯลฯ
    2. Phenylephrine and Phenylpropanolamine ได้แก่ Centapp, Benadryl, Bramtussia, Chlorhistan, Chlortab, Dimetane, Dimetapp, Meditapp, Rhinopront, Tiffy, Rhinotussal, Tussils, Bramped, Codepect, Contac 500, Decolgen, Hiscolgen, Neozep, Nuta, PD cough ฯลฯ

ยาแก้หวัดเป็นยาที่เราใช้อยู่บ่อยๆ กลุ่ม ephedrine จัดอยู่ใน กลุ่มเดียวกับ stimulant drugs ซึ่งประกอบด้วย amphetamines และ caffeine ที่เรารู้กันอยู่แล้ว เนื่องจากยากลุ่มนี้เปรียบได้กับ epinephrine หรือ adrenaline ซึ่งมีผลกระตุ้นต่อหัวใจเพิ่มเลือดไปยังกล้ามเนื้อ เพิ่มขนาดของหลอดลมขนาดเล็ก ทำให้แลกเปลี่ยนอากาศได้ดีขึ้น เพิ่มความสามารถในการใช้น้ำตาลและกรดไขมัน ทำให้กล้ามเนื้อสามารถใช้กรดไขมันเป็นพลังงาน จึงสามารถใช้กล้ามเนื้อทำงานได้มากขึ้น

ประโยชน์ที่นำมาใช้เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่ยาที่ใช้ได้ในโรคหอบ-หืดคือ Beta-2 agonist เช่น salbutamol, terbutaline โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และชนิดที่ให้เป็นชนิดพ่นเท่านั้น

  • ยาขยายหลอดลม
    1. Ephedrine ได้แก่ Brondil, Me-dorphrine, Med-ephylline, Medorphan, PolyAsma ฯลฯ
    2. Metaproterenol ได้แก่ Orciprenaline (Alupent, Silomet) ฯลฯ
    3. Isoprenaline or Isoproterenol ได้แก่ Isuprel, Medihaler-Iso ฯลฯ
    4. Methoxyphenamine ได้แก่ Asmetan-S ฯลฯ
    5. Methylephedrine ได้แก่ Coughmin, Hustazol-C, Methorcon, Sekijis ฯลฯ
  • ยาแก้ไอ
    1. Codeine ได้แก่ Actifed, Benadryl, Brantussia DC, Codepect, Codipront, Dimetane DC, Neocef, Neopect, Phencodin, Phensedyl, Ropect, Terco-C, Tylenol & Codeine

ส่วนยา dextromethorphan ไม่อยู่ในกลุ่มห้ามใช้เนื่องจาก codeine เป็นกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวกับยาเสพติด และจะเห็นว่ามีในยาแก้ไอทั่วไป ดังนั้นต้องระมัดระวังในการใช้

  • Dihydrocodeine ได้แก่ Makatussin, Paracodin
  • ยาขับปัสสาวะ
    1. Bendroflumethiazide ได้แก่ Pluryle K
    2. Bumetanide ได้แก่ Burinex
    3. Chlorothiazide
    4. Chlorothalidone ได้แก่ tenoretic, tenoret 50
    5. Furosemide
    6. Hydrochlorothiazide
    7. Metolazone ได้แก่ Zaroxolyn
    8. Spironolactone ได้แก่ Aldactone, Berlactone
    9. Triamterene ได้แก่ Dinazide, Dyazide

เหตุที่ยาขับปัสสาวะถูกนำมาใช้ในนักกีฬาเพราะต้องการขับสารที่ผิดกฎให้ขับออกทางปัสสาวะ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจพบในการแข่งขัน นอกจากนี้นักกีฬาบางประเภทเช่น มวย ยกน้ำหนัก ยูโด ใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อใช้ในการคุมน้ำหนัก หรือนักยิมนาสติก ใช้เพื่อคุมน้ำหนักให้ร่างกายคล่องแคล่ว ยาขับปัสสาวะสามารถลดน้ำหนักลง 3 % ได้ในเวลาอันสั้น โดยไม่มีผลต่อความทนทาน ความแข็งแรงของร่างกาย ดังนั้นจึงถือว่ามีผลต่อนักกีฬาในการแข่งขัน ข้อเสียของยาขับปัสสาวะคือ เกิดภาวะ dehydration ซึ่งสามารถเกิดได้ถึง 8-10% ของ plasma volume ในขณะที่น้ำหนักลดเพียง 3% เท่านั้น ผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต ในการทดลองพบว่า นักวิ่งระยะทางไกลมีผลลดประสิทธิภาพให้ช้าลง 8 วินาทีต่อการวิ่ง 1.5 กิโลเมตร, 78 วินาทีต่อ 5 กิโลเมตร และ 157 วินาทีต่อ 10 กิโลเมตร ผลเสียที่ชัดเจนคือ เกิดปัญหาด้านความร้อนขึ้นสูงจากภาวะ dehydration, การสูญเสีย potussium ซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจได้ในระหว่างที่มีการเสียเหงื่อมาก

  • ยาลดความดันโลหิต
    1. Atenolol ได้แก่ Oraday, Tenolol, Prenolol, Tenormin, Vascoten
    2. Propanolol and beta-blockers ส่วนใหญ่ beta-blockers มีผลอย่างมาก เนื่องจากทำให้มีสมาธิมากขึ้น โดยลดอาการใจสั่น หรือตื่นเต้น อันมีผลต่อความแม่นยำ มักถูกนำมาใช้ในกีฬาที่ต้องใช้สมาธิสูง โดยเฉพาะกีฬายิงปืน ยาในกลุ่มนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่ม antidepressants เช่นเดียวกับ alcohol และ antidepressants ตัวอื่นๆ ข้อเสียของการใช้ beta-blocker ในนักกีฬาคือ มีฤทธิ์ต้านต่อ epinephrine ทำให้ลดการตอบสนองของหัวใจ ลดการไหลเวียนเลือดไปที่กล้ามเนื้อ ลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีผลลดความคงทนของกล้ามเนื้อในขณะที่กล้ามเนื้อจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน (aerobic endurance performance)
  • ยาลดความอ้วน
    1. Diethylpropion (Amfepramone) ได้แก่ Apisate, Atractil, Prefanone ฯลฯ
    2. Phentermine ได้แก่ Duromine, Ionamine, Panbesy ฯลฯ

ยาในกลุ่มนี้จัดเป็นพวก psychomotor stimulant drugs ปกติใช้เป็นยาลดความอ้วน แต่ในนักกีฬาห้ามใช้ เพราะถือว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกับ amphetamine และ cocaine

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul97/v5n4/Dopingdrugs

ต้องตรวจอย่างไร?

พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาพ.ศ. 2555

ประกาศรายชื่อกรรมการตรวจสอบป้องกันการล้มกีฬาและสารต้องห้ามในการแข่งขันรถยนต์เซอร์กิต รายการ Thailand Super Series 

Start a Conversation

Your email address will not be published. Required fields are marked *