Category: TSS LIBRARY
การละเมิดกฎการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม
- ตรวจพบ
สารต้องห้ามในตัวอย่างปัสสาวะหรือเลือดของนักกีฬา - การใช้
หรือพยายามใช้สารต้องห้ามหรือวิธีการต้องห้าม - ปฏิเสธ
หรือไม่มาให้เก็บตัวอย่างภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไม่มีเหตุอันสมควร - ละเมิด
ข้อกำหนดการแจ้งถิ่นที่อยู่ของนักกีฬา (Whereabouts) - แทรกแซง
หรือการพยายามแทรกแซงกระบวนการควบคุมการใช้สารต้องห้าม - ครอบครอง
สารต้องห้ามหรือวิธีการต้องห้าม - การค้า
สารต้องห้ามหรืออุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับวิธีการต้องห้ามใดๆ - การให้
หรือพยายามให้สารต้องห้าม หรือวิธีการต้องห้ามแก่นักกีฬา - สนับสนุน
ส่งเสริมให้นักกีฬาใช้สาร/วิธีการต้องห้าม - เกี่ยวข้อง
กับบุคคลที่กระทำละเมิดกฏต่อต้านการใช้สารต้องห้าม - การกระทำใดๆของนักกีฬา
หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาที่เป็นการขัดขวางหรือต่อต้านการรายงานข้อมูลการละเมิดกฎการต่อต้านสารต้องห้ามทางการกีฬาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
The Fair Game … ศึกที่ดีไม่ควรมี “สิ่งต้องห้าม” (Part 1)
ขึ้นชื่อว่า “การแข่งขัน” สำหรับกีฬาทุกประเภท สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกันก็คือ “ชัยชนะ” อันเป็นเป้าหมายสูงสุด ภายใต้ “กฎ และกติกา” ที่ต้องผู้เข้าแข่งขันต้องทำการ “เคารพ” เพื่อให้เกิดความ “เท่าเทียม” โดยชอบธรรม … และ “มอเตอร์สปอร์ต” ก็ถือได้ว่าเป็นกีฬาที่มีความเข้มงวดของ “กฎ และกติกา” ในระดับสูง ทั้งยังไม่ได้กำหนดมาเพื่อ “อุปกรณ์” เท่านั้น หากแต่ยังครอบคลุมในส่วนของ “นักกีฬา” ด้วยเช่นกัน
เพราะนอกจาก “อุปกรณ์” ที่เป็นตัวกำหนดเรื่องความปลอดภัยแล้ว อีกหนึ่งประเด็นสำคัญก็คือ “สารกระตุ้น” ที่มีคุณสมบัติในการยกระดับขีดความสามารถของนักกีฬาให้ “เหนือกว่าปกติ” เพื่อแข่งขัน และคว้าชัยชนะ จนมองข้ามสิ่งที่ต้องแลกมา ไม่ว่าจะเป็นอนาคต, ชื่อเสียง หรือแม้กระทั่งชีวิตของตัวเองที่อาจถูกทำลายลงไปก็ตาม
ฉะนั้นในบทนี้ เราจึงขอนำเสนอ “สารต้องห้าม” และ “วิธีการต้องห้าม” ต่างๆ แห่งวงการกีฬา ที่มีผลข้างเคียงอันตรายต่อร่างกายว่ามีอะไรบ้าง โดยเริ่มจาก “สารต้องห้าม” ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ประกอบด้วย กลุ่มแรก “สารต้องห้าม ที่ห้ามใช้ตลอดเวลา” เช่น
– สารที่ยังไม่ผ่านการรับรอง (Non-Approved Substance)
– สารอนาบอลิก (Anabolic Agents) เป็นสารที่จะส่งผลต่อการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อ ใช้ในกีฬาประเภทที่ต้องการพลังกล้ามเนื้อมาก ส่วนผลข้างเคียง คือ ทำให้อารมณ์แปรปรวน, ฉุนเฉียว และสร้างอันตรายต่อร่างกาย เช่น มะเร็งตับ, ตับแข็ง, โรคหัวใจ ตลอดจนสมรรถภาพทางเพศ
– สารฮอร์โมนเปปไทด์ (Peptide Hormones) และฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต คือ สารที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาได้ เช่น EPO (Erythropoietin) ที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง ส่วนผลข้างเคียงของการใช้ EPO ก็อาจทำให้เลือดมีความเข้มข้น และเหนียวขึ้น จนส่งผลให้หัวใจทำงานหนักในการพยายามสูบฉีด แล้วก็ยังมีผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ตามมาเช่นกัน ทั้งการเจริญเติบโตไม่สมส่วนของหน้าผาก, คิ้ว, กะโหลก และกราม ขณะที่ส่วนของตับ, ต่อมไทรอยด์ และการมองเห็นถูกทำลาย ไปจนถึงทำให้หัวใจโต และนำไปสู่สภาวะหัวใจล้มเหลวได้
– สารเบต้า-ทู อโกนิสท์ (Beta-2 Agonists) เป็นสารกระตุ้นในรูปแบบยารักษาโรคหอบหืด หรือระบบทางเดินหายใจที่ใช้พ่นเข้าไปในลำคอ ซึ่งนักกีฬาที่มีประวัติป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ จะต้องผ่านการขออนุญาตใช้สารเพื่อรักษา และก็จะอนุญาตเป็นชนิดฉีดพ่นเข้าลำคอ แถมท้ายสุดแล้วก็ต้องอยู่ในปริมาณที่ไม่เกินกำหนดเท่านั้น
– สารปรับเปลี่ยนฮอร์โมน และเมตาบอลิสมของร่างกาย (Hormone And Metabolic Modulators) โดยการใช้สารต้องห้ามกลุ่มนี้ จะส่งผลข้างเคียงที่ทำให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ
– ยาขับปัสสาวะ และสารปกปิดอื่นๆ (Diuretics And Masking Agent) เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ยาที่ใช้ควบคุมน้ำหนัก ด้วยการลดปริมาณน้ำในร่างกาย ส่วนใหญ่มักใช้ในกีฬาที่มีการแบ่งน้ำหนัก โดยผลข้างเคียงก็คือทำให้ร่างกายขับเกลือแร่มากขึ้นจนร่างกายขาดน้ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดตะคริวในกล้ามเนื้อ มีภาวะเพลียแดด และอาจทำให้หมดสติได้ เนื่องจากร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน
The Fair Game … ศึกที่ดีไม่ควรมี “สิ่งต้องห้าม” (Part 2)
จาก Part 1 ของ “สารต้องห้าม” กลุ่มที่ 1 มาต่อเนื่องกันที่ Part 2 กับเรื่องราวที่เหลืออยู่ ซึ่งประกอบด้วยสารกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็น “สารห้ามใช้ เฉพาะในช่วงการแข่งขัน” และสารกลุ่มที่ 3 คือ สารที่กำหนดห้ามไว้ในกีฬาบางชนิด … โดยสารกลุ่มที่ 2 ซึ่งจัดอยู่ในหมวดหมู่ของ “สารห้ามใช้ เฉพาะในช่วงการแข่งขัน” จะประกอบไปด้วย
– สารกระตุ้น (Stimulants) ที่อยู่ในรูปแบบยาต่างๆ เช่น ยาแก้หวัด หรือ ยากระตุ้นประสาท เพราะจะมีผลต่ออัตราการทำงานของระบบในร่างกาย และออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณไหลเวียนของเลือด ขณะที่ผลข้างเคียงสามารถเกิดขึ้นได้หลายระดับ ตั้งแต่ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, ความดันโลหิตสูง, ปวดกล้ามเนื้อ, สภาวะช็อค, ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว, เบื่ออาหาร ไปจนถึงขั้นประสาทหลอนเลยทีเดียว
– สารเสพติด (Narcotics) แน่นอนว่าเป็นสารที่เสพเข้าไปแล้ว ทำให้เกิดความต้องการทั้งร่างกาย และจิตใจ ทั้งยังส่งผลให้มีความต้องการที่มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่ที่ใช้สารตัวนี้ ก็เพราะสามารถบรรเทาอาการปวดของร่างกายได้ แต่ผลข้างเคียงก็คือจะทำให้ผู้ใช้อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มึนเมา ไปจนถึงระบบหายใจถูกทำลาย และอาจเสียชีวิตได้เนื่องจากหัวใจล้มเหลว
– สารประเภทกัญชา แน่นอนว่าเหตุผลที่ใช้ ก็คือบรรเทาภาวะเครียดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการแข่งขัน ส่วนผลเสียก็คือ อาจเกิดภาวะความจำเสื่อม คิดช้า สมาธิสั้น ประสาทหลอน ตลอดจนเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพองอีกด้วย
– สารกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids) ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบยาหยอดตา ยาหยอดหู ครีมทาผิวหนัง และยาพ่นกล้ามเนื้อ โดยสารนี้จะส่งผลให้มีการยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ว่ากันต่อที่ สารกลุ่มสุดท้าย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ 3 ในหมวดหมู่ของ “สารต้องห้ามที่กำหนดในบางชนิดกีฬา”- โดยหลักๆ ก็คือ สารเบต้า-บล็อกเกอร์ (Beta-Blockers) ซึ่งคุณสมบัติก็คือช่วยชะลอการเต้นของหัวใจ และมักจะใช้ในประเภทกีฬาที่ต้องการสมาธิ เช่น ยิงปืน, ยิงธนู, แข่งรถยนต์ หรือ กอล์ฟ
The Fair Game … ศึกที่ดีไม่ควรมี “สิ่งต้องห้าม” (Part 3)
นอกจากเรื่องของ “สารต้องห้าม” แล้ว อีกสิ่งที่นักกีฬาไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวก็คือ “วิธีการต้องห้าม” (Prohibited Methods) หมายถึงวิธีการใดๆ ก็ตามที่จะช่วยเพิ่มสมรรถภาพของนักกีฬา ตลอดจนขัดขวางกระบวนการตรวจสอบ เพื่อหาสารโด๊ป … ซึ่งโดยหลักๆ แล้ว “วิธีการต้องห้าม” จะถูกจัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
– การโด๊ปเลือด (Blood Doping) ซึ่งเป็นการนำเม็ดเลือดแดงที่เตรียมไว้เข้าสู่ร่างกาย เพื่อเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง และส่งผลให้เซลล์กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
– การเปลี่ยนแปลงทางด้านเคมี หมายถึง การใช้วิธีต่างๆ เพื่อให้ปัสสาวะเจือจางลง ซึ่งอาจทำโดยการเติมน้ำ หรือสารเคมีบางอย่าง เพื่อปกปิดไม่ให้ตรวจพบสารตัวนั้นๆ
– การโด๊ปยีน (Gene Doping) ที่ประกอบด้วยสารดังต่อไปนี้ เนื่องจากถูกจัดให้เป็นสารต้องห้าม เพราะคุณสมบัติในการช่วยเสริมสมรรถภาพด้านการกีฬาเช่นกัน อาทิ การใช้โพลิเมอร์ของกรดนิวคลิอิก หรือสารที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึง, การใช้ยีนเดิม หรือปรับเปลี่ยนลักษณะของยีน และการใช้วิธีทั่วไป หรือวิธีทางพันธุศาสตร์ เพื่อปรับแต่งเซลล์ โดยทั้งหมดที่ว่ามา ถือเป็นวิธีการที่ห้ามปฏิบัติตลอดเวลา
และทั้งหมดนั่นก็คือ “สารต้องห้าม” และ “วิธีการต้องห้าม” ต่างๆ แห่งวงการกีฬา ที่ไม่ควร “หาทำ” เพราะนอกจากมีความเสี่ยงที่จะทำลายอาชีพ อนาคต และชื่อเสียง หรือแม้กระทั่งผลร้ายสุดที่จะตามมาหากพลาดท่าเสียที ก็คือ “ชีวิต” ที่ต่อให้คิดได้ก็ไม่อาจย้อนกลับไปแก้ไข จากการตัดสินใจผิดพลาดเพียงชั่ววูบได้
การตรวจสอบยาที่มีส่วนประกอบของสารต้องห้าม
ระบบ Global Drug Reference Online (Global DRO)
เป็นระบบที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของ การ ‘ต้องห้าม’ สำหรับสารนั้นๆ ภายใต้แต่ละประเภทกีฬา โดยมีการตรวจสอบเทียบกับรายการสารต้องห้าม ที่เป็นปัจจุบันที่ประกาศโดยองค์การต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (WADA) ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ขายในประเทศอังกฤษ แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย
ระบบ Global DRO จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามประเทศอังกฤษ (UKAD) สถาบันจริยธรรมทางกีฬาแห่งประเทศแคนาดา (CCES) องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ADCH) และองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามประเทศสหรัฐอเมริกา (USADA)
องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามประเทศญี่ปุ่น (JADA) และองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามประเทศออสเตรเลีย (ASADA) เป็นเจ้าของใบอนุญาตอย่างเป็นทางการของระบบ Global DRO
ระบบ Global DRO จะถูกอัพเดทอย่างสม่ำเสมอและข้อมูลทั้งหมดจะถูกตรวจสอบความถูกต้องจากเภสัชกรที่มีประสบการณ์ทางด้านการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม เราได้มีความพยายามอย่างที่สุดที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ออกสู่ท้องตลาดอย่างทันท่วงที
แหล่งที่มาข้อมูล
United Kingdom: Martindale: The Complete Drug Reference. Pharmaceutical Press.
Canada: © Canadian Drug Product Database, Health Canada. http://www.hc-sc.gc.ca/dhp-mps/prodpharma/databasdon/index_e.html. All rights reserved. Reproduced with the permission of the Minister of Public Works and Government Services Canada (2009).
Switzerland: HCL Solutions AG.
United States: Gold Standard Drug Database, Elsevier.
Japan: Japan Pharmaceutical Information Center.
Australia: MIMS Australia, www.mims.com.au.
การล้มกีฬา … เพียงชั่ววูบ “คิดผิด ชีวิตเปลี่ยน” (Part 2)
ค้างกันไว้จากตอนที่แล้วกับเรื่องราวของ “บทลงโทษ” จากการ “การล้มกีฬา” ที่ ณ ปัจจุบันมีการแบ่งแยกกันเป็น 2 ส่วน โดยในตอนนี้เราจะพูดถึงส่วนแรกเป็นหลักก็คือ “โทษทางปกครอง” ซึ่งจะประกอบไปด้วย
– มาตรา 58 สโมสรกีฬาอาชีพ หรือสมาคมกีฬาอาชีพใด ไม่จดแจ้งการดําเนินการ ตามมาตรา 17 วรรคหนึ่ง หรือไม่แจ้งการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูล หรือรายการหลักฐานที่ได้เคยยื่นขอจดแจ้งไว้แล้ว ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับทางปกครองตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
(มาตรา 17 ให้สโมสรกีฬาอาชีพ หรือสมาคมกีฬาอาชีพ จดแจ้งการดําเนินการต่อนายทะเบียน
(มาตรา 20 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดข้อมูล หรือรายการหลักฐานที่ได้เคยยื่นขอจดแจ้งไว้แล้ว ให้สโมสรกีฬาอาชีพหรือสมาคมกีฬาอาชีพนั้นแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงนั้น)
– มาตรา 61 สโมสรกีฬาอาชีพ และสมาคมกีฬาอาชีพใด ไม่ดูแลนักกีฬาอาชีพ บุคลากรกีฬาอาชีพ และบรรดากองเชียร์ หรือผู้เข้าชมการแข่งขัน ซึ่งนิยมชมชอบนักกีฬาอาชีพ หรือทีมของตนที่อยู่ภายในบริเวณสถานที่จัดการแข่งขัน ให้อยู่ในความเรียบร้อยตามมาตรา 27 ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกินหนึ่งแสนบาท(มาตรา 27 ในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอาชีพ ให้สโมสรกีฬาอาชีพ และสมาคมกีฬาอาชีพมีหน้าที่ดูแลนักกีฬาอาชีพ บุคลากรกีฬาอาชีพ และบรรดากองเชียร์ หรือผู้เข้าชมการแข่งขัน ซึ่งนิยมชมชอบนักกีฬาอาชีพ หรือทีมของตนที่อยู่ภายในบริเวณสถานที่จัดการแข่งขันให้อยู่ในความเรียบร้อยตลอดระยะเวลาที่จัดการแข่งขันนัดที่ตนเข้าร่วมการแข่งขันนั้น)
– มาตรา 63 การกําหนดโทษปรับทางปกครองในส่วนนี้ และการพิจารณาลงโทษทางปกครอง ให้คณะกรรมการคํานึงถึงความร้ายแรงของพฤติการณ์แห่งการกระทําความเสียหายที่เกิดจากการกระทํานั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่คณะกรรมการกําหนด
การล้มกีฬา … เพียงชั่ววูบ “คิดผิด ชีวิตเปลี่ยน” (Part 1)
จากจุดเริ่มต้นของ “กีฬา” ที่ในอดีตเป็นเพียงกิจกรรม หรือการเล่นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน กระทั่งได้เดินทางพัฒนามาสู่การแข่งขันอย่างเป็นทางการโดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ “ชัยชนะ” คือ สิ่งที่ทำให้เกิดการสร้าง “กฎ และกติกา” ขึ้นมาควบคุมอย่างเข้มงวด สำหรับป้องกันการ “ทุจริต” เพื่อให้ทุกเกมส์กีฬาการแข่งขันได้ดำเนินไปอย่างยุติกรรม
โดยประเทศไทยเองก็มี “กฎ และกติกา” ที่เข้มงวดภายใต้ “พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖” เพื่อเป็นกฎหมายสำหรับกีฬาอาชีพของประเทศไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมนานาประเทศ และกำหนดมาตรการคุ้มครอง ช่วยเหลือ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา ทั้งนักกีฬาอาชีพ, บุคลากรกีฬาอาชีพ และผู้เกี่ยวข้องกับกีฬาอาชีพ ดูน้อยล
ซึ่งวัตถุประสงค์หลักข้างต้น ทำให้ “คำๆ หนึ่ง” ในหัวข้อย่อยจาก “มาตรา ๔” มีความน่าสนใจที่จะนำมาเล่าให้ฟัง โดยคำดังกล่าวก็คือ “การล้มกีฬา” ที่ความหมายคือ “การเข้าแข่งขันกีฬาอาชีพโดยแสร้งแพ้ หรือโดยกระทําการ หรือไม่กระทําการแข่งขันกีฬาอาชีพโดยมีเจตนาทุจริต และให้หมายรวมถึงการเข้าแข่งขันกีฬาอาชีพ โดยสมยอมกันเพื่อให้ผลการแข่งขันเป็นไปตามที่กําหนดไว้เป็นการล่วงหน้า”
และนั่นหมายความว่า “การล้มกีฬา” ถือเป็นความผิดในการกระทำทุจริต เป็นกระทำการอันเสื่อมเสีย ภายใต้ “พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖” และมีบทลงโทษที่หนักแน่น เด็ดขาด ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างวินัยให้นักกีฬาทุกประเภททำหน้าที่อยู่ในกรอบของ “กฎ และกติกา” ถ้าไม่อยากเสียทั้งอนาคต และชื่อเสียง
สำหรับบทกำหนดโทษ “การล้มกีฬา” ที่เราเราจะนำเสนอในส่วนถัดไปจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ขั้นเริ่มต้นกับ “โทษทางปกครอง” และ ขั้นสูงสุดกับ “โทษทางอาญา” … ซึ่งบอกเลยว่าแต่ละขั้นของ “โทษ” นั้นแม้จะมีความหนักเบาต่างกัน แต่ท้ายที่สุดก็สามารถทำลายทั้งอนาคต และชื่อเสียงของนักกีฬาได้ง่ายๆ ในแบบที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว
อ้างอิง : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/118/1.PDF