Category: TSS LIBRARY

ทำความรู้จัก” Romulus”

ทำความรู้จัก” Romulus” ถ้วยรางวัลอันทรงเกียรติของแชมป์ประจำปีในศึกการแข่งขัน B-Quik Thailand Super Series 2022

สำหรับรายการ B-Quik Thailand Super Series ศึกการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน ได้แชมป์ประจำปี 2022 ในแต่ละรุ่นกันไปแล้ว แต่ยังมีอีกไฮไลท์สำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้ นั่นคือ “ถ้วยรอมิวลุส” ซึ่งเป็นถ้วยรางวัลสำหรับนักแข่งที่เป็นแชมป์ประจำปีเท่านั้น ถึงจะครอบครองได้ ซึ่งผู้ที่ออกแบบถ้วยรางวัลที่เป็นรูปทรงของรถ“Romulus” ได้แก่ ดีไซเนอร์ชื่อดังอย่าง ‘มาร์ติน ฮุนตระกูล’ ได้นำรถแข่งในตำนานมาผสานเข้ากับถ้วยรางวัลของแชมเปี้ยน ผ่านการแกะสลักอย่างพิถีพิถันด้วยเลเซอร์ จนกลายมาเป็นถ้วยรางวัลรถแข่งถ้วยหนึ่ง ที่สวยที่สุดในโลก
โดยจุดเริ่มต้นของถ้วยรางวัล Romulus (รอมิวลุส) เป็นชื่อที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก รถแข่ง ERA รหัส R2B ที่ ‘พระองค์เจ้าพีระฯ’ ทรงใช้ขับแข่งในช่วงปี 2478-2482 ทรงตั้งชื่อว่า ‘รอมิวลุส’ ตามชื่อของเทพเจ้าโรมันผู้ก่อตั้งกรุงโรม และเส้นทางการเป็นนักแข่งรถอาชีพของพระองค์ได้เริ่มต้นขึ้นขณะที่พระองค์มีพระชันษา 21 ปี ตอนนั้นพระองค์พีระทรงได้รับการชักชวนจากพระญาติ คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ซึ่งทรงเป็นทูลกระหม่อมตาของศิลปินชื่อดัง ฮิวโก้ จุลจักร จักรพงษ์ ให้นำรถแข่งไรลีย์ อิมพ์ ลงแข่งที่สนามบรู๊คแลนด์ส ในนามทีมหนูขาวสยาม (White Mouse Siam) เมื่อปี 1935 แม้ใช้ชื่อทีมว่าหนูขาวสยาม แต่รถแข่งของพระองค์พีระกลับทาสีฟ้าคาดเหลือง โดยเป็นสีที่พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลใจจากชุดของสตรีชาวสแกนดิเนเวีย คนหนึ่งชื่อบาร์บารา กรุต ซึ่งรถรอมิวลุสสีฟ้านี้ถูกเรียกชื่อว่า “สีฟ้าพีระ” (Bira blue) ในการแข่งขันที่สนามบรู๊คแลนด์สครั้งนั้น พระองค์พีระได้ทรงสมัครเข้าเป็นสมาชิกสโมสรนักแข่งอังกฤษ British Racing Drivers Club (BRDC) อีกด้วย

จากนั้นพระองค์พีระทรงเริ่มแข่งรถอย่างจริงจังในระดับนานาชาติจนมีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะในยุโรป ทรงคว้าชัยชนะครั้งแรกในการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน จากเจ้าชายแรนีเยที่ 3 แห่งโมนาโก (Coupe de Prince Rainier) และในระหว่างปี 1936-1938 ทรงชนะเลิศการแข่งรถกรังด์ปรีซ์ในยุโรปอีกหลายครั้ง จนได้รับพระราชทานรางวัลเหรียญดาราทอง BRDC Road Racing Gold Star จากกษัตริย์อังกฤษ 3 ปีซ้อน และทรงได้รับการบรรจุชื่อในหอเกียรติยศของสมาคมนักแข่งรถอังกฤษ โดยรางวัลดังกล่าวทำให้สื่อมวลชนไทยในสมัยนั้น ถวายสมญานามแด่พระองค์ว่า “เจ้าดาราทอง” เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งตำนานที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับวงการมอเตอร์สปอร์ตไทยจนถึงในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ถ้วยรางวัลรอมิวลุส จะถูกส่งมอบให้แก่แชมป์ประเภทบุคคล และแชมป์ประเภททีม เพื่อเป็นชัยชนะสำหรับผู้ที่มีความพยายามอย่างสุดความสามารถในงานเฉลิมฉลองแชมป์ประจำปี The Night of Champions 2022 นั่นเอง!!!

TSS Blast from the past!!!

ย้อนรอยเรื่องราวการเดินทางกว่า 10 ปี ของ “เรซซิ่ง สปิริต”

24 มกราคม 2013

ได้ถือกำเนิดเพจของ Thailand Super Series และเป็นการออกสู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกของบริษัท เรซซิ่ง สปิริต จำกัด ในฐานะผู้จัดการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบชิงแชมป์ประเทศไทย

16 กุมภาพันธ์ 2013

ถือกำเนิดการแข่งขันรถ Eco Car ครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งในสมัยนั้นใช้ชื่อรุ่น Thailand Super Production (Division 2) โดยนักแข่งที่ลงทำการแข่งขันนั้นต้องเป็นนักแข่งที่เป็นนักแข่งหน้าใหม่ หรืออยู่ใน Class C เท่านั้น!!

5 มีนาคม 2013

บริษัท เรซซิ่ง สปิริต จำกัด จัดประชุมทีมแข่ง นักแข่ง และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 5 มีนาคม ณ สมาคมราชกรีฑาสโมสร ห้องอังรีดูนังค์ ใจความสำคัญของการหารือโดยรวมอยู่ที่กฎการแข่งขันที่รัดกุม และเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายมากที่สุด โดยหวังที่จะยกระดับการแข่งขันรถยนต์ให้เทียบเท่าสากล และริเริ่มกฎเหล็กให้รถแข่งทุกคันทุกรุ่น ติดตั้งกล้องออนบอร์ดในรถเพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการตัดสินหากเกิดกรณีพิพาทขึ้น

31 พฤษภาคม 2013

กับงานแถลงข่าวเปิดตัวการแข่งขันรายการ Thailand Super Series อย่างเป็นทางการ ณ ลานกิจกรรม หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้ชื่อ “Thailand Super Series Speed Festival”

4 กรกฎาคม 2013

Thailand Super Series ยกทัพสุดยอดรถแข่งอย่าง TH Super Car, TH Super 2000, TH Super 1500, TH Super Production และ Lotus Cup เยือนสนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย เป็นครั้งแรก โดยเปิดฤดูกาลร่วมกันกับ ศึก Malaysian Super Series 2013

18 กันยายน 2013

Thailand Super Series เปลี่ยนแปลงรุ่นการแข่งขันจาก Thailand Super Production (Division 2) มาเป็นรุ่น Thailand Super Eco ณ สนามพีระ เซอร์กิต จังหวัดชลบุรี

9 – 11 พฤษภาคม 2014

เป็นการแข่งขันรายการ Thailand Super Series ปี 2014 แข่งขันสนามที่ 1-2 ซึ่งจัดการแข่งขันขึ้น ณ สนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย โดยมีรายการแข่งขันรถยนต์ที่ยิ่งใหญ่ระดับ Asia ร่วมลงทำการแข่งขันด้วยมากมายไม่ว่าจะเป็น Clio Club China Series, Asia Formula Renault, HKAA Autosport Challenge, Touring Car Series Asia, Asia Classic Car Challenge และ รุ่นสุดมันส์อย่าง Lamborghini Super Trofeo

ทีม Reiter Vattana RPM Motorsport ได้นำรถ Chevrolet Camaro GT3 ร่วมลงทำการแข่งขันในรายการ Thailand Super Series เป็นครั้งแรก ณ สนามเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ วันที่ 9 – 11 พฤษภาคม 2014 ซึ่ง Camaro GT3 คันนี้ได้ผลิตเสร็จก่อนหน้าการแข่งขันเพียง 15 วัน ซึ่งถูกขนส่งมาทางเครื่องบิน และถึงสนามเซปังฯ ก่อนหน้าวัน Qualify เพียง 2 วันเท่านั้น โดยมี Tomas Enge อดีตนักแข่ง F1 เข้าร่วมการแข่งขันในนามทีม Reiter Vattana RPM Motorsport อีกด้วย

ขอบคุณภาพจาก Aoun Photo ตามไปชมภาพสวยๆกันได้ที่

https://stickyride.media/thailand-super-series-2014-i…/

1-2 พฤศจิกายน 2014 บริษัท เรซซิ่ง สปิริต จำกัด นำทัพนักแข่งไปร่วมทำการแข่งขัน ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นสนามแข่งขันรถยนต์ที่ได้มาตรฐานการรับรอง FIA Grade 1 โดยสนามแห่งนี้ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2014

“จัดแข่งจักรยานที่สนามแข่งรถบางแสน!!” #กิจกรรมดีๆที่มีผู้ให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก

เราไปย้อนอดีตเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2014 เกิดการแข่งขัน “Bangsaen Criterium 2014” การแข่งขันจักรยานที่ใช้ความเร็วสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยภายในงาน Bangsaen Thailand Speed Festival ความสนุกของการแข่งขันจักรยานแบบ Criterium จะอยู่ที่ “ความเร็ว” และ “เทคนิค” ของนักปั่น เนื่องจากเป็นเส้นทางแบบปิด 100% จึงสามารถใช้ความเร็วและเทคนิคกันได้อย่างเต็มที่ โดยความเร็วสูงสุดของ Bangsaen Criterium 2014 วัดได้ถึง 77 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำได้โดย Konstantin Fast นักปั่นชาวรัสเซียสังกัดทีม Singha Infinite

วันที่ 3-5 กรกฎาคม 2015 ได้ถือกำเนิด “TRA” หรือ “TSS Racing Academy” สถาบันเพี่อพัฒนาทักษะการขับขี่รถยนต์ทางเรียบในรูปแบบเซอร์กิต โดยคอร์สแรกทำการเรียนการสอนกันที่สนาม ปทุมธานี สปีดเวย์

ชมรูปเพิ่มเติมได้ที่ >>>https://www.facebook.com/media/set/?set=a.990595100974732…

สนใจสมัครเรียน สามารถจองคอร์สได้ที่ >>>https://www.facebook.com/TSSRacingAcademy

“อีกหนึ่งก้าวของไทยกับรายการยิ่งใหญ่ระดับเอเชีย”

วันที่ 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2015 รายการ Porsche Carrera Cup Asia ได้เข้าร่วมการแข่งขันกับรายการ Thailand Super Series ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ โดยมี 3 นักแข่งชาวไทย ได้แก่ ท่านสนธยา คุณปลื้ม Car NO.80, สุทธิรักษ์ บุญเจริญ Car NO.78, วุฒิกร อินทรภูวศักดิ์ Car NO.18 เข้าร่วมการแข่งขันอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ด้วย

“ดอมมา TSS”

วันที่ 11-13 กันยายน 2015 มาดามทุสโซ กรุงเทพฯ (Madame Tussauds Bangkok) เปิดตัวหุ่นขี้ผึ้ง วิน ดีเซล (Vin Diesel) นักแสดงแอคชั่นชื่อดังจากฮอลลีวูด ที่หลายคนรู้จักกันดีในบทบาท ดอม โทเร็ตโต้ (Dom Toretto) จากภาพยนตร์ภาคต่อสุดฮิตอย่าง เดอะฟาสต์แอนด์เดอะฟิวเรียส (The Fast and The Furious) เป็นครั้งแรกในเมืองไทย ในการแข่งขัน Thailand Super Series ณ สนาม พีระ เซอร์กิต

วันที่ 24-29 พฤศจิกายน 2015 ได้เปิดบ้านต้อนรับการแข่งขันระดับอินเตอร์รายการ Renault Clio Cup China Series ความเร้าใจสไตล์ One make race ของขุมพลังพิกัด 1.6 ลิตรเทอร์โบ บนสังเวียนการแข่งขันในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ Bangsaen Thailand Speed Festival

“Bangsaen Criterium 2015” แข่งขันจักรยานเสือหมอบประเภทไครธีเรียม ในสนามเฉพาะกิจแบบปิดเมืองบางแสน

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2015 ได้มีการจัดกิจกรรม Bangsaen Criterium อีกครั้ง ซึ่งเป็นการแข่งขันจักรยานรูปแบบ Criterium (Spirit of Teamwork) เฉพาะเสือหมอบ ประเภท 4 คน โดยมี 70 ทีมน่องเหล็กจากทั่วประเทศเข้าร่วม แบ่งกิจกรรมการแข่งขันเป็น 3 ประเภท Gold Riders, Silver Riders และ Lady Cup บนสนามแข่งรถยนต์ทางเรียบ “บางแสน สตรีท เซอร์กิต” หนึ่งในสนามที่สวยที่สุดในโลก

ชมรูปเพิ่มเติมได้ที่ >>>https://www.facebook.com/media/set/…

ในปี 2016 เรซซิ่ง สปิริต ได้รับสิทธิ์จาก TCR International Series การแข่งขัน Touring Car ที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก ในการจัดการแข่งขันรายการ TCR Thailand ในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยรถที่เข้าร่วมการแข่งขันนั้นจะมีสมรรถนะใกล้เคียงกัน ซึ่งรถแต่ละยี่ห้อนั้นจะมาจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง มีจุดประสงค์เพื่อให้นักแข่ง ทีมแข่งสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้อย่างเท่าเทียม และแสดงศักยภาพได้เต็มที่ ซึ่งในขณะนั้นมีรถที่ลงทำการแข่งขันจำนวน 2 รุ่น คือ Honda Civic Type-R TCR ที่ได้รับการพัฒนาจาก JAS Motorsport ประเทศอิตาลี และ Seat Leon TCR ที่ได้รับการพัฒนาโดย Seat Sport ประเทศไทย โดย เรซซิ่ง สปิริต เป็นผู้จัดฯ 1 ใน 12 ประเทศทั่วโลกที่ได้ลงนามในข้อตกลงการเป็นผู้จัดการแข่งขันนี้

‘The Batmobile’

วันที่ 19–22 พฤษภาคม 2016 ทีม Vattana Motorsport เปิดตัวรถแข่งคันใหม่ล่าสุด KTM X-Bow GT4 ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ KTM X-Bow GT4 เป็นรถแข่งที่มีตัวถังแบบฟูล-คาร์บอนไฟเบอร์ชิ้นเดียวหรือที่เรียกว่า “โมโนค็อค” (Monocoque) นอกจากนั้นภายตัวถังยังได้มีการติดตั้งโรลเคจ (Rollcage) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวถัง ห้องโดยสารที่เหมือนกระจกนั้น ทำมาจากวัสดุประเภทพอลีคาร์โบเนทน้ำหนักเบา (Polycarbonate) สามารถเปิดขึ้นด้านบนได้เพื่อสะดวกต่อการเข้า-ออกค็อคพิท

แอโรพาร์ทรอบคันนั้น เป็นวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสปลิตเตอร์ที่ด้านหน้าของตัวรถรวมไปถึงสปอยเลอร์ประสิทธิภาพสูงที่ถูกติดตั้งไว้ด้านหลัง นอกจากนั้น ใต้ท้องรถยังได้ถูกซีลให้เรียบโดยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อจัดเรียงกระแสอากาศให้ไหลผ่านดิฟฟิวเซอร์ที่ด้านท้ายของตัวรถเพื่อสร้างแรงกดให้ได้มากที่สุด

“รถแข่งแบบหลังคาเปิด OMR เคยมา TSS “

วันที่ 7-11 กันยายน 2016 รถ Caterham รถแข่งแบบหลังคาเปิดสัญชาติอังกฤษที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1973 โดยมีเอกลักษณ์โดดเด่นในเรื่องการเป็นรถสปอร์ตน้ำหนักเบา (Light Weight Sport Car) บางรุ่นมีน้ำหนักน้อยกว่า 500 กิโลกรัม ได้เข้าร่วมการแข่งขันกับรายการ Thailand Super Series ขึ้นเป็นครั้งแรกในรุ่น Caterham Championship ซึ่งเป็นการแข่งขันแบบ One Make Race

ปี 2016 เป็นการครบรอบ 10 ปี ของสนามบางแสน สตรีท เซอร์กิต (Bangsaen Street Circuit) และการก้าวขึ้นสู่มาตรฐานโลก FIA Grade 3 พร้อมทั้งการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ครั้งใหม่จาก “บางแสน ไทยแลนด์ สปีด เฟสติวัล” เป็น “บางแสน กรังด์ปรีซ์” เทศกาลความเร็วเร้าใจสุดยิ่งใหญ่ระดับเวิลด์คลาส ที่ทั้งโลกจับตามอง

“บางแสน กรังด์ปรีซ์ขยับตารางแข่งอีกครั้ง ต้อนรับรายการใหญ่ระดับเอเชีย!!”

ในปี 2017 นับเป็นปีแรกที่รายการบางแสน กรังด์ปรีซ์ ได้ขยับตารางการแข่งขันจากปลายฤดูกาล ขึ้นมาจัดแข่งขันในช่วงกลางฤดูกาล ทั้งนี้เพื่อเป็นการต้อนรับการมาเยือนของรถแข่งระดับโลกจากรายการ Porsche Carrera Cup Asia และการแข่งขัน TCR Asia Series นั่นเอง

“Thailand Supercar GTM Plus! อัดกันยาวๆหนึ่งชั่วโมง”

เมื่อปี 2018 เป็นปีแรกที่รุ่นใหญ่สุดของการแข่งขันนั่นคือ Thailand Supercar GTM Plus และ Thailand Supercar GTM มีการปรับเปลี่ยนกฏกติกาใหม่โดยใช้แนวทางการแข่งขันจากศึกใหญ่อย่าง GT Asia Series กับการดวลความเร็วจากเดิมแบบ Sprint Race มาเป็นการแข่งขันเวลา 1 ชม. โดยใช้นักแข่ง 2 คน

“Thailand Supercar GTM Plus! อัดกันยาวๆหนึ่งชั่วโมง”

เมื่อปี 2018 เป็นปีแรกที่รุ่นใหญ่สุดของการแข่งขันนั่นคือ Thailand Supercar GTM Plus และ Thailand Supercar GTM มีการปรับเปลี่ยนกฏกติกาใหม่โดยใช้แนวทางการแข่งขันจากศึกใหญ่อย่าง GT Asia Series กับการดวลความเร็วจากเดิมแบบ Sprint Race มาเป็นการแข่งขันเวลา 1 ชม. โดยใช้นักแข่ง 2 คน

Steve Owen ยอดนักขับชาวออสซี่ที่มีความสามารถโดดเด่นในการขับขี่ได้หลากหลายรูปแบบ มีส่วนมาร่วมในการทำ BoP

Maxime Jousse ยอดนักขับสัญชาติฝรั่งเศส

Jono Lester ยอดนักขับสัญชาติ New Zealand

“บรรจุรุ่นแข่งใหม่ในปี 2018..นักแข่งดังต่างชาติเข้าร่วมมากมาย..นักแข่งไทยเริ่มขยับ”

เป็นปีแรกที่ Porsche Cayman GT4 Trophy Thailand และ TA2 Thailand รถแข่งเชื้อสายอเมริกาบรรจุอยู่ปฏิทินการแข่งขัน

“F4 รถแข่งแบบล้อเปิด มาแข่งขันที่สนามช้างในรายการ TSS”

วันที่ 25-29 ตุลาคม 2018 การแข่งขันของ “รถล้อเปิด” (Open-Wheel Racing Car) รุ่น Formula 4 หรือชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า FIA Formula 4 (FIA F4) ได้เข้าร่วมการแข่งขันในรายการ Thailand Super Series เป็นครั้งแรก ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์

“แข่งขัน 1 ชั่วโมงเต็ม รถ Compact/ Production วิ่งสบาย!!”

เป็นปีแรกที่รุ่น Thailand Super Compact และ Thailand Super Production มีการปรับเปลี่ยนกฏกติกาใหม่กับการดวลความเร็วจากเดิมแบบ Sprint Race มาเป็นการแข่งขันเวลา 1 ชม. โดยใช้นักแข่ง 2 คน

Highlight การแข่งขันในวันนั้น >>> https://fb.watch/cEK80LzK3H/

“เปลี่ยนชื่อให้ชัดเจนเป็น GT3 และ GTM”

เป็นปีที่ได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อรุ่นในการแข่งขันจากเดิม Thailand Supercar GTM Plus และ Thailand Supercar GTM มาเป็น Thailand Supercar GT3 และ Thailand Supercar GTM

“Test Formula 3 ที่สนามบางแสน”

วันที่ 31 สิงหาคม 2019 “ต๊อด ปิติ ภิรมย์ภักดี” และ “แบงค์ กันตศักดิ์ กุศิริ” ควบรถ Formula 3 ในพิธีเปิดสุดยิ่งใหญ่ในเทศกาลความเร็วแห่งปีรายการ Bangsaen Grand Prix

“ครั้งหนึ่ง TSS ถูกคัดเลือกให้ได้เป็น Support Race Formula 1”

งานแถลงข่าวของเรซซิ่ง สปิริต กับการได้รับเกียรติให้เป็น Support Race รายการมอเตอร์สปอร์ต ระดับโลกในรายการ Formula 1 Vinfast Vietnam Grand Prix ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการครั้งแรกของสนามแห่งนี้ที่ถูกบรรจุอยู่ในปฏิทินการแข่งขัน Formula 1 และถือเป็นครั้งแรกของวงการมอเตอร์สปอร์ตไทยที่ไปสู่การแข่งขันระดับโลกอย่างแท้จริง

บรรยากาศการแถลงข่าวในวันนั้น >>> https://fb.watch/cHsgECAsvd/

“เกิดปรากฏการณ์ใหม่..เมื่อสนามจริงแข่งไม่ได้..เราก็ย้ายไปในโลก Digital!!” #กระแสตอบรับดีเกินคาด

เนื่องจากสถานการโควิด 19 ทำให้เกิดการแข่งขัน Thailand Super Series Digital Racing ขึ้นเป็นครั้งแรก! ในเมืองไทย ที่ยกสนามแข่งมาไว้ในโลก Virtual โดยการนำเหล่าขุนพลทีมแข่งในรายการ Thailand Super Series มาลงสนามแข่งขันแบบออนไลน์โดยใช้เกม Gran Turismo Sport ทำการแข่งขันบน Play Station 4 ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการแข่งขัน Digital Motorsport ออนไลน์อันดับต้นๆ ในประเทศไทย #ถือเป็นการจัดการแข่งขันในรูปแบบใหม่

TSS Digital Racing 2020 >>> https://fb.watch/cMv4e8YrC4/

Highlight การแข่งขัน >>> https://fb.watch/cMvhH3lPUa/

“ปี 2020 จัด 2 Events ใน 2 เดือน มีการจัดการแข่งขันได้ #แบบไม่มีผู้ชมในสนาม

สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาด อีกทั้งยังคงต้องเฝ้าระวัง และป้องกันอย่างเคร่งครัดอยู่ในขณะนั้น ทางรายการฯ จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตารางการแข่งขันลดลงเหลือเพียง 2 events (4 races) เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐบาล

“ชิงแชมป์ประเทศไทย Super Eco ดุเดือด!..แข่งกันหน้ากระดานเรียง 5!!!”

ปี 2021 เป็นครั้งแรกที่รุ่นเล็กพริกขี้หนูอย่าง Thailand Super Eco ยกระดับความตื่นเต้นขึ้นไปอีกขั้นกับปลายทางที่มีตำแหน่งแชมป์ประเทศไทยเป็นเดิมพัน และกลายเป็น Viral เขย่าวงการมอเตอร์กับการเรียงแถวหน้ากระดานแบบเต็ม Track สนามช้างของรถแข่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน

Highlight >>> https://fb.watch/cPa4WwO7iG/

“ปี 2021 เรายังคงแข่งขันกันแบบ #วิถีNewnormal

สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีผลทำเกิดการแข่งขันแบบ New Normal ขึ้นมา ทุกคนที่ทำกิจกรรมในสนาม ต้องผ่านการตรวจ ATK และสวมใส่แมสก์ 100% รักษาระยะห่างอย่างเคร่งครัด

“พัฒนากันอย่างต่อเนื่อง..ต้องสู้กันแบบใสๆไร้มลพิษทางอากาศ…”

ในปี 2021 เรซซิ่ง สปิริต จับมือร่วมกับ ECU Shop ผู้ผลิตกล่องเพิ่มสมรรถนะเครื่องยนต์ และความปลอดภัยของรถยนต์ มาพร้อมโปรเจ็คใหม่ นั่นคือ การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันดำ โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการพัฒนารถแข่งในรุ่น Pickup ของวงการมอเตอร์สปอร์ตไทยให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากลมากยิ่งขึ้น #แรงไร้ควัน

สารต้องห้ามทางการกีฬา

WADA คืออะไรและมีหน้าที่อย่างไรบ้าง ?

WADA มีการบริหารจัดการในระดับภูมิภาค โดยกระจายอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก ตั้งเป็นองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามแห่งชาติ หรือมีชื่อย่อว่า NADO และในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งสำนักงานควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา : Doping Control Agency of Thailand หรือ DCAT ขึ้น โดยอาศัยความในมาตราของพระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาพ.ศ. 2555 โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้


1. รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการและคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
2. ดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบการใช้สารต้องห้ามตามข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการกำหนด
3. ให้บริการทางวิชาการ ส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการ การประกันคุณภาพของกระบวนการควบคุมการใช้สารต้องห้าม การวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาและป้องกันการควบคุมการใช้สารต้องห้าม
4. ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการป้องกันการใช้สารต้องห้ามทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
5. จัดทำฐานข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่ควบคุมการใช้สารต้องห้าม ตลอดจนรวบรวมและปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารต้องห้ามให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
6. จัดให้มีโฆษณา และประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับสารต้องห้ามในการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อนักกีฬาและประชาชน
7. ประสานงานกับนักกีฬา สมาคมกีฬา และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการตรวจหาสารต้องห้ามทั้งในประเทศและต่างประเทศ
8. ประสานงานกับองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาระดับสากล
9. จัดรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเสนอต่อรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละ   1 ครั้ง
10. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่รัฐมนตรี คณะกรรมการ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย


ทั้งหมดนี้ คือ ความร่วมมือกันของหน่วยงานและองค์กรภาคีต่าง ๆ ที่ทำงานอย่างมีมาตรฐานเป็นสากล และเชื่อมโยงกันทั่วโลก เพื่อสร้างความบริสุทธิ์ยุติธรรมให้วงการกีฬานั้นเอง

อ้างอิงข้อมูลจาก :   https://www.brighttv.co.th/news/sports/world-anti-doping-agency-1

ยาอะไรบ้างที่เป็นสารต้องห้ามทางกีฬา

สารต้องห้ามสำหรับนักกีฬา (Doping drugs) คือ ยาหรือสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพทั้งกระตุ้นและหรือเสพติด ซึ่งประกาศตามกฎของ International Olympic Committee (IOC), the United States Olympic Committee (USOC), หรือ the National Collegiate Athletic Association (NCAA) ขอใช้คำจำกัดความภาษาอังกฤษ เพื่อความถูกต้อง

” Doping is the administration of or the use by a competing athlete of any substances foreign to the body or of any physiological substance taken in abnormal quantity or by an abnormal route of entry into the body, with the intention of increasing in an artificial and unfair manner his performance in competition. When necessity demands medical treatment with any substance which because of its nature, dosage or application is able to boost the athlete’s performance in competition in an artifical and unfair manner, this is to be regarded as doping.” (Clarke K. Drugs and the coach. Washington,DC: American Alliance for Health, Physical Education and Recreation. 1972)

สารต้องห้ามสำหรับนักกีฬามีมากมายหลายชนิด ขอแบ่งตามหัวข้อที่ใช้บ่อยๆ รวมทั้งได้ค้นชื่อการค้าที่มีในประเทศไทยไว้ด้วย

  • ยาแก้หวัดคัดจมูก
    1. Pseudoephedrine ได้แก่ Actifed, Benadryl, Consimet, Maxiphed, Rhinohist, Robitussin-PE, Rocof, Sinusaid, Sudafed, Trifed ฯลฯ
    2. Phenylephrine and Phenylpropanolamine ได้แก่ Centapp, Benadryl, Bramtussia, Chlorhistan, Chlortab, Dimetane, Dimetapp, Meditapp, Rhinopront, Tiffy, Rhinotussal, Tussils, Bramped, Codepect, Contac 500, Decolgen, Hiscolgen, Neozep, Nuta, PD cough ฯลฯ

ยาแก้หวัดเป็นยาที่เราใช้อยู่บ่อยๆ กลุ่ม ephedrine จัดอยู่ใน กลุ่มเดียวกับ stimulant drugs ซึ่งประกอบด้วย amphetamines และ caffeine ที่เรารู้กันอยู่แล้ว เนื่องจากยากลุ่มนี้เปรียบได้กับ epinephrine หรือ adrenaline ซึ่งมีผลกระตุ้นต่อหัวใจเพิ่มเลือดไปยังกล้ามเนื้อ เพิ่มขนาดของหลอดลมขนาดเล็ก ทำให้แลกเปลี่ยนอากาศได้ดีขึ้น เพิ่มความสามารถในการใช้น้ำตาลและกรดไขมัน ทำให้กล้ามเนื้อสามารถใช้กรดไขมันเป็นพลังงาน จึงสามารถใช้กล้ามเนื้อทำงานได้มากขึ้น

ประโยชน์ที่นำมาใช้เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่ยาที่ใช้ได้ในโรคหอบ-หืดคือ Beta-2 agonist เช่น salbutamol, terbutaline โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และชนิดที่ให้เป็นชนิดพ่นเท่านั้น

  • ยาขยายหลอดลม
    1. Ephedrine ได้แก่ Brondil, Me-dorphrine, Med-ephylline, Medorphan, PolyAsma ฯลฯ
    2. Metaproterenol ได้แก่ Orciprenaline (Alupent, Silomet) ฯลฯ
    3. Isoprenaline or Isoproterenol ได้แก่ Isuprel, Medihaler-Iso ฯลฯ
    4. Methoxyphenamine ได้แก่ Asmetan-S ฯลฯ
    5. Methylephedrine ได้แก่ Coughmin, Hustazol-C, Methorcon, Sekijis ฯลฯ
  • ยาแก้ไอ
    1. Codeine ได้แก่ Actifed, Benadryl, Brantussia DC, Codepect, Codipront, Dimetane DC, Neocef, Neopect, Phencodin, Phensedyl, Ropect, Terco-C, Tylenol & Codeine

ส่วนยา dextromethorphan ไม่อยู่ในกลุ่มห้ามใช้เนื่องจาก codeine เป็นกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวกับยาเสพติด และจะเห็นว่ามีในยาแก้ไอทั่วไป ดังนั้นต้องระมัดระวังในการใช้

  • Dihydrocodeine ได้แก่ Makatussin, Paracodin
  • ยาขับปัสสาวะ
    1. Bendroflumethiazide ได้แก่ Pluryle K
    2. Bumetanide ได้แก่ Burinex
    3. Chlorothiazide
    4. Chlorothalidone ได้แก่ tenoretic, tenoret 50
    5. Furosemide
    6. Hydrochlorothiazide
    7. Metolazone ได้แก่ Zaroxolyn
    8. Spironolactone ได้แก่ Aldactone, Berlactone
    9. Triamterene ได้แก่ Dinazide, Dyazide

เหตุที่ยาขับปัสสาวะถูกนำมาใช้ในนักกีฬาเพราะต้องการขับสารที่ผิดกฎให้ขับออกทางปัสสาวะ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจพบในการแข่งขัน นอกจากนี้นักกีฬาบางประเภทเช่น มวย ยกน้ำหนัก ยูโด ใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อใช้ในการคุมน้ำหนัก หรือนักยิมนาสติก ใช้เพื่อคุมน้ำหนักให้ร่างกายคล่องแคล่ว ยาขับปัสสาวะสามารถลดน้ำหนักลง 3 % ได้ในเวลาอันสั้น โดยไม่มีผลต่อความทนทาน ความแข็งแรงของร่างกาย ดังนั้นจึงถือว่ามีผลต่อนักกีฬาในการแข่งขัน ข้อเสียของยาขับปัสสาวะคือ เกิดภาวะ dehydration ซึ่งสามารถเกิดได้ถึง 8-10% ของ plasma volume ในขณะที่น้ำหนักลดเพียง 3% เท่านั้น ผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต ในการทดลองพบว่า นักวิ่งระยะทางไกลมีผลลดประสิทธิภาพให้ช้าลง 8 วินาทีต่อการวิ่ง 1.5 กิโลเมตร, 78 วินาทีต่อ 5 กิโลเมตร และ 157 วินาทีต่อ 10 กิโลเมตร ผลเสียที่ชัดเจนคือ เกิดปัญหาด้านความร้อนขึ้นสูงจากภาวะ dehydration, การสูญเสีย potussium ซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจได้ในระหว่างที่มีการเสียเหงื่อมาก

  • ยาลดความดันโลหิต
    1. Atenolol ได้แก่ Oraday, Tenolol, Prenolol, Tenormin, Vascoten
    2. Propanolol and beta-blockers ส่วนใหญ่ beta-blockers มีผลอย่างมาก เนื่องจากทำให้มีสมาธิมากขึ้น โดยลดอาการใจสั่น หรือตื่นเต้น อันมีผลต่อความแม่นยำ มักถูกนำมาใช้ในกีฬาที่ต้องใช้สมาธิสูง โดยเฉพาะกีฬายิงปืน ยาในกลุ่มนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่ม antidepressants เช่นเดียวกับ alcohol และ antidepressants ตัวอื่นๆ ข้อเสียของการใช้ beta-blocker ในนักกีฬาคือ มีฤทธิ์ต้านต่อ epinephrine ทำให้ลดการตอบสนองของหัวใจ ลดการไหลเวียนเลือดไปที่กล้ามเนื้อ ลดการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีผลลดความคงทนของกล้ามเนื้อในขณะที่กล้ามเนื้อจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน (aerobic endurance performance)
  • ยาลดความอ้วน
    1. Diethylpropion (Amfepramone) ได้แก่ Apisate, Atractil, Prefanone ฯลฯ
    2. Phentermine ได้แก่ Duromine, Ionamine, Panbesy ฯลฯ

ยาในกลุ่มนี้จัดเป็นพวก psychomotor stimulant drugs ปกติใช้เป็นยาลดความอ้วน แต่ในนักกีฬาห้ามใช้ เพราะถือว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกับ amphetamine และ cocaine

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul97/v5n4/Dopingdrugs

ต้องตรวจอย่างไร?

พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาพ.ศ. 2555

ประกาศรายชื่อกรรมการตรวจสอบป้องกันการล้มกีฬาและสารต้องห้ามในการแข่งขันรถยนต์เซอร์กิต รายการ Thailand Super Series 

Pit Window Open / Close คืออะไร

มาทบทวนและรู้จัก Pit Window Open / Close คืออะไร … พร้อมทำความเข้าใจ “แต้มต่อ” ของศึกใหญ่ 1 ชั่วโมงเต็มกันอีกสักครั้ง ก่อนการแข่งขันตัดสินแชมป์ที่กำลังจะเกิดขึ้น…

ในการแข่งขัน Thailand Super Series รุ่นที่เรียกได้ว่าเป็นไฮไลท์ไม่ควรพลาดก็คือรุ่นทำการแข่งขันสายโหด ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่จาก Sprint Race มาซัดกันเต็มเวลา 1 ชั่วโมง เช่น รุ่น Thailand Supercar GT3, รุ่น Thailand Supercar GTM ตลอดจนพิกัดเล็กอย่างรุ่น Thailand Super Compact และรุ่น Thailand Super Production


และด้วยการแข่งขันนาน 1 ชั่วโมงเต็ม ซึ่งนักแข่งต้องใช้พลังใจ และพลังกายในระดับสูงกว่าปกติ ทำให้แต่ละทีมได้รับอนุญาตให้สามารถมีนักแข่งทีมละ 2 คน และถือใบขับแข่งสากลในระดับต่างกันได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เกมส์การแข่งขันจะสนุกได้ ก็จำเป็นต้องอยู่ภายใต้กฎกติกา เพื่อสร้างความเท่าเทียมกัน เพราะฉะนั้นจึงเกิดข้อกำหนดต่างๆ เพื่อทำให้การแข่งขันนั้น “น่าลุ้น” มากยิ่งขึ้น

เริ่มตั้งแต่ “การจับคู่” ของนักแข่งในแต่ละทีม ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปถึงการจับเวลารอบคัดเลือก (Qualify) ที่มีการแบ่งเป็นรอบที่ 1 และรอบที่ 2 โดยนักแข่งทั้ง 2 คน หากคนใดคนหนึ่งมีใบขับแข่งเกรดต่ำกว่า ก็จะต้องรับหน้าที่ลงจับเวลารอบคัดเลือก และลงแข่งขันจริงเป็นมือแรกในเรซที่ 1 ซึ่งหากนักแข่งทั้ง 2 คนมีเกรดใบขับแข่งสากลเท่ากัน กรณีนี้จะอยู่ที่การตกลงกัน ส่วนการจับเวลารอบคัดเลือก (Qualify) ในรอบที่ 2 จะเป็นหน้าที่ของนักแข่งที่เกรดใบขับแข่งสากลสูงกว่า หรือนักแข่งอีกคนที่เหลืออยู่ในทีม
ตามด้วยการเพิ่มความเข้มข้นในเกมส์การแข่งขันด้วยช่วงเวลาพิเศษที่เรียกว่า Pit Window Open และ Pit Window Close ที่ทำให้แต่ละทีมสามารถกลับเข้า Pit ทำภารกิจได้เพียง 1 ครั้ง โดยจะถูกกำหนดให้เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่นาทีที่ 25 ไปจนถึงนาทีที่ 35 เท่านั้น (หลังจาก 25:00.000 นาที – ไม่เกิน 34:59.000 นาที)

โดยในแต่ละทีมของของบรรดารุ่นใหญ่อย่าง Thailand Supercar GT3, Thailand Supercar GTM จะถูกบังคับให้ใช้เวลาในพิทไม่ต่ำกว่า 90 วินาที ที่เรียกกันว่า Compulsory Pit Stop Time (สำหรับสนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต) ตามด้วยการลดทอนความได้เปรียบ เสียเปรียบด้านความต่างของดีกรีนักแข่ง จากการบวกเวลา Compensation Times เพิ่มเติมตามระดับเกรดใบขับแข่ง เช่น


• นักแข่งฉายเดี่ยว ด้วยใบขับแข่งเกรด Bronze จะบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 8 วินาที เป็น 98 วินาที
• นักแข่งที่มาเป็นคู่ ด้วยใบขับแข่งเกรด Bronze/Silver จะบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 30 วินาที เป็น 120 วินาที
• นักแข่งที่มาเป็นคู่ ด้วยใบขับแข่งเกรด Bronze/Gold หรือ Platinum จะบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 30 วินาทีเป็น 120 วินาที
• นักแข่งที่มาเป็นคู่ ด้วยใบขับแข่งเกรด Silver/Silver จะบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 52 วินาที เป็น 142 วินาที
• นักแข่งที่ฉายเดี่ยว ด้วยใบขับแข่งเกรด Silver จะบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 60 วินาที เป็น 150 วินาที
• ยกเว้นนักแข่งที่มาเป็นคู่ ด้วยใบขับแข่งเกรด Bronze เท่านั้นที่ไม่ได้รับการบวกเวลาเพิ่ม

ในขณะที่รุ่น Thailand Super Compact และรุ่น Thailand Super Production ก็จะได้รับการบวกเวลา Compensation Times เพิ่มตามระดับดีกรีของนักแข่ง ประกอบด้วย


• นักแข่งที่มาเป็นคู่ด้วยเกรด A/A จะได้รับการบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 15 วินาที
• นักแข่งที่มาเป็นคู่ด้วยเกรด A/B จะได้รับการบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 15 วินาที
• นักแข่งที่มาเป็นคู่ด้วยเกรด A/C จะได้รับการบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 15 วินาที
• นักแข่งที่มาเป็นคู่ด้วยเกรด B/B จะได้รับการบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 15 วินาที
• นักแข่งที่มาเป็นคู่ด้วยเกรด B/C จะได้รับการบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 15 วินาที
• นักแข่งฉายเดี่ยวเกรด A จะได้รับการบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 23 วินาที
• นักแข่งฉายเดี่ยวเกรด B จะได้รับการบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 23 วินาที
• นักแข่งฉายเดี่ยวเกรด C จะได้รับการบวกเวลา Compensation Times เพิ่ม 8 วินาที
• ยกเว้นนักแข่งที่มาเป็นคู่ด้วยเกรด C/C จะไม่ได้รับการบวกเวลาเพิ่ม

และท้ายสุดกับ “แต้มต่อ” ที่เกิดขึ้นหลังผลแข่งขันเรซที่ 1 ถูกเปิดเผยอย่างเป็นทางการ อันดับ 1, 2 และ 3 ของทุกรุ่นที่ทำการแข่งขันแบบ 1 ชั่วโมงเต็ม จะถูกบวกเวลาเพิ่มแทนการถ่วงน้ำหนัก โดยอันดับที่ 1 จะบวกเวลาเพิ่มอีก 15 วินาที, อันดับ 2 บวกเวลาเพิ่มอีก อีก 10 วินาที และอันดับ 3 บวกเวลาเพิ่มอีก 5 วินาที ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อสร้างโอกาสในการลุ้น และความมันส์ในเกมส์การแข่งขันนัดถัดไปให้มากขึ้นนั่นเอง

หัวลากสายซิ่ง ชิงแชมป์โลก..!!

วันนี้ TSS จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับสุดยอดการแข่งขันรถหัวลากยุโรปรายการใหญ่ระดับโลกอย่าง FIA European Truck Racing Championship (FIA ETRC)

รูปภาพจาก : https://www.buggyra.com/…/european-truck-racing…

FIA European Truck Racing Championship (FIA ETRC) ซึ่งเป็นการแข่งขันรถรุ่นใหญ่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และถือเป็นที่สุดของการแข่งขันรถหัวลากระดับโลกอย่างแท้จริง

รูปภาพจาก : https://www.fia.com/fr/node/9634

ย้อนกลับไปในอดีต การแข่งรถหัวลากเกิดขึ้นในปี 1979 แต่เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง การแข่งขันรถหัวลากจึงจำเป็นต้องยุติไป หลังจากนั้นในปี 1986 หวนกลับมาจัดการแข่งขันใหม่โดยเน้นในเรื่องความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดทำให้มีผู้สนใจ และเข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก

รูปภาพจาก : https://www.autosport.com/…/british-trucks-and…/6548554/

จนกระทั่งปี 2006 การแข่งขันได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจาก FIA ทั้งในเรื่อง การติดตั้งระบบความปลอดภัยของรถ, การจำกัดความเร็วสูงสุดไว้ที่ 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง, จำกัดน้ำหนักต่ำสุดไว้ที่ 5,300 กิโลกรัม (ไม่รวมคนขับ) และห้ามเกิดควันดำ

รูปภาพจาก : https://www.fia.com/news/etrc-season-kicks-action-hungary

การแข่งขัน FIA ETRC นอกจากได้รับความนิยมจากผู้ที่เข้าร่วมการแข่งขันแล้ว ยังมีตัวแทนจากธุรกิจภาคอุตสาหกรรมให้การตอบรับเป็นจำนวนมาก เพราะนอกจากการจัดการแข่งขันที่เกิดขึ้นแล้วภายในงานยังได้มีการจัดนิทรรศการอุตสาหกรรมสำหรับ OEM โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี และร่วมพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืนของวงการอุตสาหกรรมแขนงนี้อีกด้วย

รูปภาพจาก : https://www.mantripping.com/…/what-is-european-truck…

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.fiaetrc.com/information

รูปภาพจาก : https://www.juratek.com/…/truck-racing-grand-final-at…

“Ferrari World Abu Dhabi” สวนสนุกธีมรถ

สวนสนุกทั่วโลก ต่างก็มีธีมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันออกไป วันนี้ TSS จะพาทุกท่านไปเที่ยวทิพย์กับสวนสนุกธีมรถที่น่าไปมากๆและต้องถูกใจชาวมอเตอร์สปอร์ตอย่างแน่นอน #TSSLifeStyle

รูปภาพจาก : https://www.benoy.com/projects/ferrari-world-abu-dhabi/

Ferrari World ตั้งอยู่บน Yas Island ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 200,000 ตารางเมตร เป็นสวนสนุกในร่มแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในโลก โดดเด่นด้วยสัญลักษณ์ Ferrari ขนาดใหญ่ที่ตระหง่านอยู่บนหลังคาสีแดงสด การออกแบบของหลังคาได้แรงบันดาลใจจาก Ferrari GT Body ซึ่งมีพื้นที่ในร่มให้ผู้เข้าชมได้ถึง 86,000 ตารางเมตร

รูปภาพจาก : https://magic4.club/…/five-reasons-visit-ferrari-world…/

ภายในสวนสนุกล้วนเต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติความเป็นมาของ Ferrari ไม่ว่าจะเป็นผู้ก่อตั้ง, รุ่นรถ, เครื่องยนต์, โรงงานผลิต ตลอดจนการแข่งขันรถยนต์ของ Ferrari พร้อมกับเครื่องเล่นที่มาเติมเต็มความฝันของเด็กๆ ไปกับรถ Ferrari รวมทั้งเครื่องเล่นสุดเร้าใจกว่า 40 ชนิด

รูปภาพจาก : https://areal-tur.ru/…/chem-interesen-park-mir-ferrari…

นอกจากนี้ยังสามารถสัมผัสประสบการณ์ความเร็วในการแข่งขันรถยนต์ไปกับ “Formula Rossa” รถไฟเหาะที่เร็วที่สุดในโลกด้วยความเร็ว 240 กิโลเมตร/ชั่วโมง ภายใน 4.9 วินาที และมีความสูงถึง 52 เมตร

รูปภาพจาก : https://fatmoments.com/…/a-day-at-ferrari-world-abu…/

Ferrari World (Abu Dhabi, UAE)

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.ferrariworldabudhabi.com/en/

รูปภาพจาก : https://www.khaleejtimes.com/…/double-the-fun-at-yas…

Ferrari World (Abu Dhabi, UAE)

รูปภาพจาก : https://www.wenstourism.com/featured_item/ferrari-world/

Ferrari World (Abu Dhabi, UAE)

รูปภาพจาก : https://me.popsugar.com/…/Fifth-Harmony-Visit-Ferrari…

Ferrari World (Abu Dhabi, UAE)

รูปภาพจาก : https://www.prnewswire.com/…/ferrari-world-abu-dhabis…

Ferrari World (Abu Dhabi, UAE)

รูปภาพจาก : https://www.timeoutabudhabi.com/…/446489-yas-waterworld…

Ferrari World (Abu Dhabi, UAE)

รูปภาพจาก : https://www.flickr.com/photos/sackerman519/8638598974

Ferrari World (Abu Dhabi, UAE)

รูปภาพจาก : https://www.businessinsider.com/ferrari-world-abu-dhabi…

“Ayrton Senna de Silva”

“Ayrton Senna de Silva”
สุดยอดนักขับรถแข่งรถระดับตำนานของโลก..ที่ทุกคนต้องรู้จัก!!

รูปภาพจาก : https://sportstar.thehindu.com/…/article27004212.ece

Ayrton Senna de Silva นักแข่งรถ Formula 1 ชาวบราซิลที่เริ่มต้นเส้นทางจากโกคาร์ทซึ่งเขาสามารถคว้าแชมป์ระดับทวีปอเมริกาใต้มาได้สำเร็จในปี 1977 จนกระทั่งในปี 1981 เขาได้รับชัยชนะในการแข่งขัน Formula Ford ถึง 2 ปีติดต่อกัน และได้เข้าสู่การแข่งขัน British Formula 3 Championship ในปี 1983

รูปภาพจาก : https://www.autoevolution.com/…/ayrton-sennas-kart…

Senna ได้เข้าร่วมการแข่งขัน Formula 1 ในปี 1984 ให้กับทีม Toleman ต่อมาในปี 1985 เขาย้ายมาขับให้กับทีม Lotus และทำผลงานได้ดีเยี่ยม

รูปภาพจาก : https://external-preview.redd.it/8xqWza1CPEhuE8DAXHMVH8uk…

จนในปี 1988 ได้ย้ายมาอยู่ในสังกัดทีม McLaren ทำให้เขาประสบความสำเร็จด้วยการคว้าแชมป์โลกได้ถึง 3 สมัยในปี 1988, 1990 และ 1991

รูปภาพจาก : https://www.pinterest.com/pin/89790586304521898/

ก่อนที่เขาจะตัดสินใจย้ายไปอยู่ในทีม Williams ในปี 1994 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องกฏการแข่งขัน Formula 1 ไม่ว่าจะเป็นการห้ามใช้อุปกรณ์ช่วยขับขี่อย่างระบบช่วงล่าง Active Suspension, ระบบควบคุมการทรงตัวของรถขณะเข้าโค้ง (Traction Control) และเบรก ABS รวมทั้งตัวเขาอยู่ในช่วงปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับรถใหม่จากทีม Williams ด้วย

รูปภาพจาก : https://twitter.com/1990sf1/status/592077581131902976

จนกระทั่งการแข่งขัน San Marino Grand Prix ที่สนาม Autodromo Enzo e Dino Ferrari ณ เมือง Imola ประเทศอิตาลี รถของ Senna หลุดโค้งและปะทะเข้ากับ Barrier ด้วยความเร็ว 233 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้เขาบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา

รูปภาพจาก : https://3d-car-shows.com/ayrton-senna-formula-one-grand…/

หลังการจากไปของ Senna ได้จุดชนวนครั้งยิ่งใหญ่ของวงการมอเตอร์สปอร์ตในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยทั้งของนักแข่ง, ตัวรถ ตลอดจนสนามที่รองรับการแข่งขันนับตั้งแต่นั้นมา

รูปภาพจาก : https://www.independent.co.uk/…/ayrton-senna-my-uncle…

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.ayrtonsenna.com.br/en/,

https://www.formula1.com/…/hall-of-fame/Ayrton_Senna.html,

https://en.wikipedia.org/wiki/Ayrton_Senna

รูปภาพจาก : https://www.formulanerds.com/…/the-story-and…/

FIA World Touring Car Cup สุดยอดการแข่งขันรถยนต์ทางเรียบระดับโลก!!

นอกจากการแข่งรถยอดนิยม Formula 1 ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายแล้วอีกรายการแข่งรถยนต์ระดับโลกที่ไม่ควรพลาดเช่นกันคือ FIA World Touring Car Cup (WTCR) การแข่งขันรถยนต์ประเภท Touring Car ชิงแชมป์นานาชาติจัดขึ้นโดย Eurosport Events ได้รับการรับรองจากสหพันธ์รถยนต์นานาชาติ (Fédération Internationale de l’Automobile หรือ FIA) ซึ่งรถยนต์ที่เข้าร่วมการแข่งขันประเภทนี้ส่วนมากเป็นรถยนต์จากค่ายผู้ผลิตที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดทั่วไป โดยนำรถมาดัดแปลงเพื่อให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมสำหรับการแข่งขัน เช่น Alfa Romeo, Audi, CUPRA, Honda, Hyundai, Lynk & Co และ Renault

รูปภาพจาก : https://www.fiawtcr.com/event/wtcr-race-of-china-wuhan/

WTCR เป็น 1 ในการแข่งขันรถยนต์ประเภทล้อปิดที่วิ่งอยู่บนทางเรียบ แต่เดิมในปี 1993-1995 เคยใช้ชื่อ Touring Car World Cup และเปลี่ยนมาเป็น World Touring Car Championship (WTCC) ในปี 2005-2017

รูปภาพจาก : https://www.fia.com/news/wtcc-2015-race-qatar-race-report

หลังจากนั้นในปี 2018 ได้มีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขันอีกครั้งเป็นรายการ World Touring Car Cup เนื่องจากรวมการแข่งขันรายการ TCR International Series เข้ามาไว้ด้วยกันและได้กำหนดให้ใช้กฎกติกาของ TCR (Touring Car Racing) แทน

รูปภาพจาก : https://www.touringcartimes.com/…/world-touring-car…/

ถือว่าเป็นรายการใหญ่ระดับโลกรายการหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นักแข่งจากทั่วทุกมุมโลกมาชิงความเป็นหนึ่ง และเป็นรายการที่ได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว สำหรับปฏิทินการแข่งขันฤดูกาล 2021 นี้มีการจัดการแข่งขันขึ้นทั้งหมด 8 สนาม 16 เรซ

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.fiawtcr.com/

https://www.fia.com/…/wtcr-fia-world-touring-car-cup

รูปภาพจาก : https://www.touringcartimes.com/…/20-car-full-season…/

ถ้วยรางวัลสำหรับผู้ชนะการแข่งขัน เป็นถ้วยรางวัลที่อลังการมาก

รูปภาพจาก : https://www.fiawtcr.com/wtcr-title-showdown-special…/

รูปภาพจาก : https://www.facebook.com/…/a.201863366…/3910257069074457 

การแข่งขันรถแบบล้อเปิดระดับชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อว่า “INDYCAR”

ก่อตั้งเมื่อปี 1994 โดยเจ้าของเดียวกับ Indianapolis Motor Speedway ภายใต้ชื่อ Indy Racing League (IRL)

รูปภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=a4EmOUaXL1I

จัดการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1996 ซึ่งสนามที่รองรับการแข่งขันนั้นจะมีทั้ง Superspeedways, Short Ovals, Road Courses และ Temporary Street Circuits

รูปภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=cclCzOvavhY

รถที่ในการแข่งขัน IndyCar ใช้เครื่องยนต์ V6 Twin Turbo ขนาด 2.2 ลิตรแบบ Direct Injection ให้กำลัง 500-700 แรงม้าที่ 12,000 รอบ/นาที

รูปภาพจาก : https://racer.com/…/nbc-confirms-times-and-locations…/

ในปี 2019 การแข่งขัน IndyCar ได้ใช้ชื่อการแข่งขันอย่างเป็นทางการว่า NTT IndyCar Series เนื่องมาจากทาง NTT นั้นได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรหลักของรายการ IndyCar Series

ปัจจุบันการแข่งขัน NTT IndyCar Series ในฤดูกาล 2021 จะมีด้วยกันทั้งหมด 16 สนาม ตระเวนไปทั่วอเมริกา ซึ่งแต่ละสนามนั้นจะมีรูปแบบและประเภทของสนามที่แตกต่างกันออกไป

รูปภาพจาก : https://www.usatoday.com/…/top-stories-to…/7230298002/

ที่สำคัญหากชาวมอเตอร์สปอร์ตท่านใดที่คิดถึงลีลาการขับรถของ Romain Grosjean และ Kevin Magnussen อดีตนักขับ Formula 1 จากทีม Haas ก็สามารถตามเชียร์ได้ในรถหมายเลข 51 จากสังกัดทีม Dale Coyne Racing with RWR และหมายเลข 7 สังกัดทีม Arrow McLaren SP

รูปภาพจาก : https://www.goodwood.com/…/haas-f1-drops-grosjean-and…/

Romain Grosjean อดีตนักขับ Formula 1 กับรถหมายเลข 51 จากสังกัดทีม Dale Coyne Racing with RWR

รูปภาพจาก : https://f1i.com/…/408180-grosjean-to-make-indycar-oval…

Kevin Magnussen อดีตนักขับ Formula 1 กับรถหมายเลข 7 สังกัดทีม Arrow McLaren SP

รูปภาพจาก : https://motorsportstribune.com/lot-to-learn-for…/

รวมไปถึง Marcus Ericsson อดีตนักขับ Formula 1 จากทีม Sauber ที่ลงแข่งขันรายการ IndyCar ด้วยรถหมายเลข 8 ในสังกัด Chip Ganassi Racing

รูปภาพจาก : https://beyondtheflag.com/…/indycar-marcus-ericsson…/

Marcus Ericsson อดีตนักขับ Formula 1 กับรถหมายเลข 8 ในสังกัด Chip Ganassi Racing

รูปภาพจาก : https://bleacherreport.com/marcus-ericsson

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.indycar.com/

รูปภาพจาก : https://beyondtheflag.com/…/indycar-rinus-veekay-line…/

รูปภาพจาก : https://www.frontstretch.com/…/chevrolet-looking…/

Michael Schumacher สุดยอดนักแข่งรถระดับ ตำนานของโลก ที่สาวกมอเตอร์สปอร์ตทุกคนต่างยกนิ้วให้!!

Michael Schumacher สุดยอดนักแข่งรถ Formula 1 ชาวเยอรมัน สามารถคว้าแชมป์โลกได้ถึง 7 สมัย จุดเริ่มต้นในวัยเด็กของเขาคือการขับรถโกคาร์ทในสนามที่พ่อของเขาสร้างไว้ให้ในบ้านตั้งแต่อายุได้ 4 ขวบ และเข้าร่วมการแข่งขันโกคาร์ทครั้งแรกในวัยเพียง 12 ปี ซึ่งเขาสามารถเอาชนะการแข่งขันทั้งในเยอรมนีและในทวีปยุโรปมากมายหลายรายการ เช่น Formula 3 Series, Formula 3000, German Touring Car

รูปภาพจาก : https://www.dnaindia.com/…/report-ferrari-to-mark-f1…

Schumacher เข้าร่วมการแข่งขัน Formula 1 ครั้งแรกในรายการ Belgian Grand Prix 1991 ในฐานะนักแข่งสำรองให้กับทีม Jordan และย้ายไปอยู่ในสังกัดทีม Benetton ปี 1992 เขาสามารถคว้า
ตำแหน่งแชมป์โลกครั้งแรกมาได้เมื่อปี 1994 และ 1995 มาเป็นสมัยที่ 2 หลังจากนั้นได้เข้าร่วมกับทีม Ferrari

รูปภาพจาก : https://www.essentiallysports.com/f1-news-ralf…/

ด้วยค่าตัวที่สูงที่สุดของนักแข่งในยุคนั้น และคว้าแชมป์โลกได้สำเร็จให้กับทีมติดต่อกันถึง 5 สมัยตั้งแต่ปี 2000-2004 หลังจากนั้นเขาได้ประกาศ
แขวนพวงมาลัยหลังจากฤดูกาลแข่งขัน 2006 สิ้นสุดลง จนกระทั่งปี 2010 Schumacher ได้สร้างความประหลาดใจด้วยการหวนกลับเข้ามาสู่วงการ Formula 1 ในสังกัดทีม Mercedes และเกษียณจากการเป็นนักแข่งอีกครั้งในปี 2012

รูปภาพจาก : https://www.gptoday.net/…/history-michael-schumacher…

ขอบคุณข้อมูลจาก https://michael-schumacher.de/en/,

https://www.formula1.com/…/hall…/Michael_Schumacher.html,

https://en.wikipedia.org/wiki/Michael_Schumacher,

รูปภาพจาก : https://www.carscoops.com/…/watch-the-first-trailer…/

และในวันที่ 15 กันยายนนี้ ชาวมอเตอร์สปอร์ตทุกท่านจะได้ชมภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “SCHUMACHER” ซีรีส์ที่เปิดตำนานเรื่องราวของราชาแห่งวงการ Formula 1 ชาวเยอรมันผู้ที่คว้าแชมป์โลกได้ถึง 7 สมัยอย่าง “Michael Schumacher” งานนี้คนรักความเร็วห้ามพลาด! เจอกันได้ทาง #Netflix

Michael Schumacher’s documentary coming to Netflix Sept.15

รูปภาพจาก : https://www.roadandtrack.com/…/watch-netflixs-michael…/

รูปภาพจาก : https://www.france24.com/…/20190910-sport-france-f1…